อุปกรณ์ขี่ม้า พีพี แซดเดิลรีย์

1. เหล็กปากม้า
- ประเภทของเหล็กปาก
- วัสดุที่ใช้ทำเหล็กปาก
- เหล็กหวาน คือ อะไร
- การดูแลและทำความสะอาดเหล็กปาก

2. การทำความสะอาดม้าและอาบน้ำม้า
- ความสำคัญในการทำความสะอาดม้า
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดม้า
- ขั้นตอนการทำความสะอาดม้า
- วิธีการอาบน้ำม้า


1 เหล็กปากม้า

หล็กปากม้า (horse bit) คืออุปกรณ์ที่ใส่ไว้ในปากของม้า ใช้เพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ขี่และม้า ทำให้ผู้ขี่สามารถบอกทิศทางและบังคับม้าได้ตามที่ต้องการ เหล็กปากจึงนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ มีผลโดยตรงต่อการขี่และการเชื่อฟังคำสั่งของม้า ดังนั้น การเลือกเหล็กปากให้เหมาะกับทั้งผู้ขี่และม้าจึงเป็นสิ่งที่ต้องเอาใจใส่ ่เป็นอย่างยิ่งในการขี่ม้าทุกประเภท

เหล็กปากม้าในปัจุบันมีความหลากหลายมาก ประเภทและวัสดุที่ใช้ทำเหล็กปากที่ต่างกันไป ทำให้เหล็กปากมีคุณสมบัติและเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันไปด้วย

ผู้เขียน เห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเหล็กปากม้าเขียนไว้ในที่นี่  ได้แก่ เรื่อง ประเภทของเหล็กปาก, วัสดุที่ใช้ทำเหล็กปาก, การดูแลรักษาและทำความสะอาดเหล็กปาก เพื่อช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ขี่ม้ามีความสามารถในการเลือกเหล็กปากที่เหมาะสมกับทั้งผู้ขี่และม้าได้ สามารถใช้และรักษาดูแลได้อย่างถูกต้อง


ประเภทของเหล็กปากม้า
(Types of Horse Bits)

ผู้ผลิตเหล็กปากม้าแต่ละรายพยายามสร้างจุดขายของตนเองโดยคิดค้นเหล็กปากให้มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใคร และตั้งชื่อเรียกเหล็กปากนั้นๆ ขึ้นใหม่ ทำให้ปัจจุบันประเภทของเหล็กปากม้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีมากกว่า 1000 ชนิดแล้วทำให้ผู้ใช้หรือผู้ซื้อมีความลำบากในการตัดสินใจเลือกซื้อและเลือก
ใช้เหล็กปากมากขึ้นเช่นกัน  ผุ้เขียนจึงได้จัดประเภทของเหล็กปาก แบ่งตามการใช้งาน และเพื่อช่วยให้ผู้ซื้อสามารถเลือกเหล็กปากที่เหมาะกับม้าและแนวการขี่
ของผู้ขี่มากที่สุด ในที่นี้ผมจะขอแบ่งประเภทเหล็กปากม้า เป็น 6 ประเภทพื้นฐานใหญ่ๆดังนี้ครับ

1 เหล็กปากอ่อนหรือ Snaffle Bit เป็นเหล็กปากพื้นฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีข้อต่อตรงกลางในส่วนของปากคาบ (mouth piece) ทำให้มีการอ่อนตัวได้ ช่วยทำให้ผู้ขี่สามารถบังคับม้าได้โดยไม่ทำให้ม้าเจ็บหรือรุนแรงเหมือนกับเหล็กปากประเภทอื่นๆ  แรงที่เกิดขึ้นในการบังคับม้า เป็นแรงตรงไม่มีการผ่อนแรงใดๆ เช่น ถ้าเราดึงสายบังเหียนโดยออกแรง 10 หน่วย แรงที่กระทำต่อม้าก็จะเท่ากับ 10 หน่วย จึงเหมาะกับลูกม้า ม้าที่ไม่เคยใส่เหล็กปาก ผู้ขี่ใหม่ และการฝึกม้าเบื้องต้น เป็นต้น  เหล็กปากอ่อนนี้ยังสามารถ แบ่งย่อยๆ ออกได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้


1.1  Loose Ring Snaffle หรือ เหล็กปากห่วงหมุน ได้ชื่อตามส่วนเหล็กแก้มที่สามารถเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้อย่างอิสระ ทำให้เหล็กปากวางตัวในปากม้าได้อย่างเป็น
ธรรมชาติและม้าสามารถตอบรับรู้คำสั่งได้ดีกว่าเหล็กปากอ่อนชนิดอื่นๆ เหมาะกับม้าที่ไม่เคยใส่เหล็กปากมาก่อน  ลูกม้า ผู้ขี่ใหม่ และ การใช้บังคับม้าทั่วไป เป็นต้น

เหล็กปากม้า 

1.2 Egg butt Snaffle หรือเหล็กปากรูปไข่  เป็นเหล็กปากอ่อนที่มีความนุ่มนวลต่อม้ามากที่สุด เพราะว่าจะมีส่วนปลายทั้ง2ด้านของเหล็กปากคาบเป็นรูปไข่ ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เหล็กปาก บีบรัดหรือบาดมุมปากม้าได้ จึงเหมาะสำหรับลูกม้ามากที่สุด

 เหล็กปากม้า 20 เหล็กปากม้า2

1.3 D-ring Snaffle หรือ เหล็กปากตัว D  ได้ชื่อตามรูปร่างของส่วนเหล็กแก้ม (Cheekpiece) ที่เป็นรูปตัว D ส่วนแก้มที่เป็นรูปตัวD นี้เองที่ช่วยในเรื่องการเลี้ยว เหมาะกับผู้ขี่ที่ฝึกบังคับม้าให้เลี้ยว

 
1.4 Full-Cheek Snaffle หรือ เหล็กปากก้านยาว ลักษณะเด่นคือก้านที่ยาวยื่นออกมาจากส่วนเหล็กแก้ม ก้านยาวนี้ช่วยเรื่องการควบคุมทิศทางให้ม้า เช่นเดียวกับ เหล็กปากประเภท D-Ring แต่เหนือกว่าด้วยการทำหน้าที่เหมือนตัวล็อกไม่ให้เหล็กปากลื่นไปมาจึงสร้างความสมดุลให้ม้าได้อย่างดี เป็นเหล็กปากที่มีความนุ่มนวล
ไม่รุนแรงในการบังคับม้า จึงสามารถใช้ควบคุมม้าที่ฝึกใหม่ หรือลูกม้าได้ดีอีกด้วย

เหล็กปากม้า 8 เหล็กปากม้า 7 

2 เหล็กปากแข็ง หรือ Curb Bit เป็นเหล็กปากที่รุนแรงขึ้นอีกระดับนึง เพื่อใช้ในการควบคุมม้าให้เชื่อฟังและทำคำสั่งได้มากขึ้นกว่าเหล็กปากอ่อน เหมาะกับม้าดื้อที่ไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่ง, ม้าที่ผึกเพิ่มใช้ในการกีฬาหรือม้าใช้งานในฟาร์ม เป็นต้น ส่วนปากคาบ (mount piece) เป็นก้านเดียวไม่มีข้อต่อ และส่วนข้างแก้มจะมีขาที่เรียกว่า Shanks ซึ่งจะช่วยในเรื่องการผ่อนแรง เช่น ถ้าเราดึงสายบังเหียนโดยออกแรงเพียง 2 หน่วย แรงที่กระทำต่อม้าอาจจะเพิ่มเป็น 10 หน่วย ผู้ที่ใช้เหล็กปากประเภทนี้จึงต้องมีความชำนาญในการขี่พอสมควร และควรใช้กับม้าที่เคยใส่เหล็กปากหรือม้าที่เคยฝึกมาแล้ว  เหล็กปากแข็งแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่

2.1 เหล็กปากแข็งเวสเทิร์น (Western Curb Bit) จะมีขา (Shanks) ที่ยาวสามารถช่วยในการผ่อนแรงและจะมีความรุนแรงในการบังคับมากขึ้นตามความยาวและขานั้นเอง เหล็กปากประเภทนี้นิยมใช้ในหมู่คาวบอย เช่น
การขี่ม้าอ้อมถัง ขี่ม้าคล้องวัว การขี่ที่มีการหยุดม้าแบบกระทันหัน การขี่ม้าแบบสไลด์  การขี่ม้าเหล่านี้ต้องอาศัยผู้ขี่และม้าที่ชำนาญเท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้น
ม้าอาจเกิดการบาดเจ็บได้

   เหล็กปากม้า 8เหล็กปากม้า 10

2.2 เหล็กปากแข็งอังกฤษ (English Curb Bit) เป็นเหล็กปากแข็งที่มีความนุ่มนวลมากกว่าเหล็กปากแข็งเวสเทิร์น มีขา (Shanks) ที่ไม่ยาวนัก เหมาะสำหรับการฝึกม้าหลายระดับ เช่น ศิลปะการฝึกบังคับม้า (Dressage) การโชว์บังคับม้า ซึ่งเป็นการขี่ที่เน้นการเคลื่อนที่และเน้นทิศทาง ซึ่งม้าต้องทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ และี่เน้นการผึกทิศทาง โดยการสื่อสารที่นุ่มนวลกว่าเหล็กปากแข่งแบบเวสเทิร์นในการ ทำให้ม้าเข้าใจและตอบสนอง ต่อคำสั่งได้
เหล็กปากประเภทนี้ได้แก่ Weymouth ซึ่งเป็นการใช้เหล็กปากควบคู่กับโซ่ (Curb Chain) ช่วยในการสื่อสารกับม้าให้ได้ดียิ่งขึ้น
อีกด้วย


เหล็กปากม้า 12เหล็กปากม้า 11
3 Gag Bit หรือ เหล็กปากหลายห่วงรูปร่างคล้ายเหล็กปากอ่อน (Snaffle bit) แต่การใช้งานแตกต่างกัน เหล็กปากหลายห่วงนี้มีความรุนแรงมากกว่าทั้งเหล็กปากอ่อน
และเหล็กปากแข็ง เพราะมีการผ่อนแรงที่ไม่เสถียร โดยจะใช้สายบังเหียน 2หรือ 3ชุด และนิยมใช้คู่กับสายง่อง ซึ่งร้อยผ่านรูหรือห่วงขนาดเล็กที่เรียกว่า eye เหล็กปากชนิดนี้
เหมาะกับ การขี่ที่ต้องการการควบคุมที่เด็ดขาดและแม่นยำ เช่น กีฬาโปโลและการขี่ม้าข้ามสิ่งกีดขวาง เป็นต้น

 เหล็กปากม้า 13 เหล็กปาก เหล็กปากม้า 14เหล็กปากม้า 17

4. การใช้เหล็กปากคู่ หรือ Double Bridle คือการนำเหล็กปากแข็งและปากอ่อนมาใช้ร่วมกัน การควบคุมก็จะเป็นแบบ 2 แรง ทั้งแรงตรงและแรงที่ผ่านการผ่อน เหล็กปากแข็งที่นิยมมาใช้คือ Weymouth และเหล็กปากอ่อนคือ Bradoon หรือ Bridoon และต้องใช้ร่วมกับชุดบังเหียนเฉพาะที่มีสายต่อเหล็กปาก 2 สายและสายบังเหียน 2 สาย ม้าที่ใส่เหล็กปากทั้งสองเข้าไปพร้อมกันได้นั้นต้องเป็นม้าที่มีลักษณะปากใหญ่พอ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ปากของม้าได้เจ็บได้ เหล็กปากคู่เหมาะสำหรับการขี่ในกีฬา
บังคับม้า Dressage และการฝึกควบคุมม้าระดับ 3 ขึ้นไป การใช้เหล็กปากในลักษณะนี้เน้นการสื่อสารกับม้าอย่างลึกซึ้งแต่ไม่รุนแรง

 

5 Pelham และ Kimblewick (Kimberwick) เป็นเหล็กปากที่ทำงานคล้ายการใช้เหล็กปากคู่ที่เป็นการใช้แรงแรงตรงและการผ่อนแรงร่วมกัน แต่ต่างกันตรงที่ เหล็กปากชนิดนี้ไม่ได้เอาเหล็กปากแข็งและอ่อนมาใช้ร่วมกัน แต่รวมเป็นเหล็กปากชิ้นเดียวเลย ชุดบังเหียนที่ใช่ร่วมจะต้องเป็นแบบเฉพาะเช่นเดียวกับการใช้เหล็กปากคู่ เหล็กปากชนิดนี้เหมาะกับลูกม้าที่ต้องการฝึกขั้นสูงและการขี่ม้าโชว์  (ห้ามใช้เหล็กปากชนิดนี้ในการแข่งขัน Dressage ที่เป็นทางการ)

Kimblewick Pelham

6 Hackamore และ Bitless: Hackamore เป็นเหล็กปากที่ไม่มีส่วนปากคาบ (Mouthpiece) แต่เพิ่มแผงรัดจมูกเข้ามาแทน โดยแรงจะกดบริเวณแผงจมูกม้าทำให้ม้ารับรู้
ได้ถึงคำสั่ง เหมาะสำหรับการขี่ม้าคล้องสัตว์ (Rodeo Roping) การปล้ำม้า (Steer-Wrestling) และการขี่ม้าอ้อมถัง (Barrel Racing) ส่วน Bitless นั้นจะคล้ายกับ
Hackamore แต่จะไม่มีส่วนของขา (Shank) จะมีแค่ส่วนที่เป็นหนังเท่านั้น

เหล็กปาก bitless
Hackamore หรือ Mechanical Hackamore Bitless  

บทความ ความรู้ ม้า


วัสดุที่ใช้ทำเหล็กปากม้า (Horse Bit Materials)

ปัจจุบันนี้ เหล็กปากม้าทำมาจากวัสดุหลากหลายประเภท มีให้เลือกใช้แตกต่างกันไป วัสดุที่นิยมนำมาทำเหล็กปากม้ามีดังต่อไปนี้

1. สเตนเลส (Stainless Steel) เป็นวัสดุที่นิยมนำมาทำเหล็กปากม้าแพร่หลายที่สุด เพราะแข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ดูแลรักษาง่าย และราคาไม่แพงนัก สเตนเลสไม่มีรสชาติ ใช้ได้กับม้าทุกประเภท ทุกช่วงวัย ก่อนอื่นผู้ซื้อต้องเข้าใจว่าม้าแต่ละตัวมีความชอบไม่เหมือนกัน และจะส่งผลให้การเชื่อฟังคำสั่งยากง่ายแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นหากม้าไม่ชอบวัสดุชนิดหนึ่งนั้น ม้าก็จะดื้อไม่ยอมให้ใส่เหล็กปากนั้นๆเข้าปากของมันหรือพยายามจะผลักออกเมื่ออยู่ในปาก สเตนเลสถือว่าเป็นเหล็กชนิดแห้ง (Dry Mouth) เพราะสเตนเลสไม่มีรสชาติ ไม่ช่วยในการกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายม้าหลั่งน้ำลายออกมา ดังนั้น เหล็กปากประเภทนี้อาจทำให้เกิดการเสียดสีของเหล็กปากกับปากของม้าได้ง่ายกว่า วัสดุชนิดเปียก (Wet Mouth) เช่น ทองแดง และ เหล็กหวาน เป็นต้น

Description: ANd9GcQqXg_D0rYsj9V7F-8IYOutfpMWwbcEmRu8VoB1OE160YwORGkK0Q
Stainless Eggbut Snaffle Bit

2. ทองแดง (Copper) ลักษณะเด่นของทองแดง คือมีรสชาติอมเปรี้ยว เป็นเหล็กชนิดเปียก (Wet Mouth) เมื่อใส่เข้าไปในปากม้าแล้วจะกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายม้า
หลั่งน้ำลายออกมา ช่วยเพิ่มการหล่อลื่นในปากม้า ลดการเสียดสีระหว่างปากม้ากับเหล็กปากม้าส่งผลให้ม้าเชื่อฟังคำสั่งมากขึ้น ม้าส่วนมากจะชอบรสชาดของทองแดง
ทองแดงไม่นิยมนำมาทำเป็นเหล็กปากม้าทั้งชิ้น แต่นิยมนำมาผสมกับโลหะอื่นเป็น ทองแดงผสม (Copper Alloy) หรือนำมาทำเป็นแค่ชิ้นส่วน บางชิ้นของเหล็กปากม้า
เช่น ลูกอมทองแดง (Copper Lozenge), ลูกกลิ้งทองแดง (Copper Roller) และประดับทองแดงเป็นเส้นสลับกับวัสดุอืน (Copper Inlays) เป็นต้น

เหล็กปากม้า1 เหล็กปากม้า2 เหล็กปากม้า เหล็กหวานขลิบทองแดง

Loose Ring Snaffle - Double Jointed with Copper Lozenge (ลูกอมทองแดง)

Fullcheek Snaffle - Double Joุinted Mouth with Copper Roller
(ลูกกลิ้งทองแดง)

Western Curb Bit - Jointed Mouth with Sweet Iron and Copper Inlays (เส้นทองแดงสลับเหล็กหวาน)

3. นิกเกิล (Nickel Plated) นิยมนำมาเคลือบโลหะชนิดอื่น เช่นเหล็ก เพื่อป้องกันสนิม แต่ต้องระมัดระวังในการดูแลรักษา เพราะถ้าตกพื้นหรือกระแทกจะทำให้นิกเกิล
ที่เคลือบหลุดร่อนออกและทำให้เหล็กที่อยู่ด้านในเกิดสนิมได้ เหล็กที่ชุบนิกเกิลมีราคาถูกและมีความเงางามมากกว่าสเตนเลสแต่ม้าส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบรสชาด
และไม่ยอมใส่เหล็กปากนิกเกิล

เหล็กปากม้า3
Loose Ring Snaffle with Nickel Plated

4. เหล็กหวาน (Sweet Iron) เหล็กหวานเป็นเหล็กชนิดเหนียวและเปียก  มีลักษณะเด่นคือ สนิมที่เกิดขึ้นจะมีรสหวานและไม่เป็นอันตราย ปลอดภัยเมื่ออยู่ในร่างกาย
ของสัตว์รวมถึงม้า นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เหล็กหวานมีราคาค่อนข้างสูงและต้องมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอต้องมีการทำความสะอาดสนิมเก่า
ออกไปเพื่อให้สนิมใหม่ได้สร้างขึ้นมาแทน อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเหล็กหวานเพิ่มเติมในหัวข้อ "เหล็กหวานคืออะไร"

เหล็กปากม้า4
Western Curb Bit - Jointed Mouth with
Sweet Iron Mouth and Copper Inlays


5. ยาง (Rubber) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ อย่างนุ่ม (Soft) และอย่างแข็ง (Hardened or Vulcanized) ยางเป็นวัสดุ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถดัดโค้งได้ 
มีความทนทานพอสมควร เมื่อใช้ไปนานๆจะเกิดการสึกกร่อนอันเนื่องจากการเคี้ยวของม้า ยางมีส่วนประกอบหลักคือกำมะถัน จึงมีกลิ่นและรสชาติที่ม้าไม่ชอบ

เหล็กปากม้า5
Pelham Bit - Mullen Mouth with Rubber

6. วัสดุสังเคราะห์ (Synthetic) วัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติก เป็นวัสุที่น้ำหนักเบา แข็งแรง ทำความสะอาดได้ง่าย และสามารถเติมรสชาดที่ม้าชอบได้ เช่น รสแอปเปิ้ล มินท์
แครอท และอบเชย เป็นต้น วัสดุสังเคราะห์นี้จัดเป็นเหล็กชนิดเปียก (Wet Mouth) เพราะรสชาติที่สังเคราะห์จะช่วยกระตุ้นให้ม้าหลั่งน้ำลายออกมามาก ม้าส่วนมากจะชอบเหล็กปากที่ทำมาจากวัสดุ ุสังเคราะห์นี้ แต่มี  การสึกกร่อนง่าย เพราะว่าม้าจะชอบเคี้ยวเหล็กปากประเภทนี้

เหล็กปากม้า6
Gag Snaffle Bit - Straight Mouth with Apple Flavor


7. อลูมิเนียม (Aluminium) ข้อดีของอลูมิเนียม คือมีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ ดูแลรักษาง่าย ราคาถูก แต่จะมีความแข็งแรงทนทานน้อย เป็นเหล็กชนิดแห้งและรสชาติไม่ดี


เหล็กปากม้า7
Aluminium Curb Bit - Jointed Mouth

นอกจากวัสดุที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีวัสดุอื่นๆที่นำมาทำเช่นกัน แต่ไม่ค่อยแพร่หลาย อาจจะเนื่องจากมีราคาสูงเหมาะกับการใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น ไททาเนียม น้ำหนักเบา ทนทาน เหมาะกับม้าแข่ง หรือ gloden brass ที่มีสีทองสวยงาม นิยมใช้ในม้าประกวดหรือการโชว์ม้า เป็นต้น สุดท้ายแล้วการเลือกใช้เหล็กปากม้าก็ขึ้นอยู่กับ
ความชอบของม้าที่เราขี่เป็นหลัก ซึ่งผู้ขี่ต้องคอยสังเกตุถึงพฤติกรรมม้าอย่างใกล้ชิดว่าม้าชอบหรือไม่ชอบวัสดุของเหล็กปากม้าเหล่านั้นอย่างไร เปรียบได้การกับลูกอมที่เราชอบ เราก็สามารถอมได้จนหมดอย่างสบาย แต่ถ้าหากให้เราต้องอมยาที่มีรสชาดที่เราไม่ชอบ เราก็คงต้องพยายามที่จะหาทางคายมันออก และไม่มีความสุขตราบที่ยานั้นยังอยู่ในปาก ม้าก็เช่นเดียวกันถ้าม้าชอบวัสดุนั้นๆ ม้าก็จะเชื่อฟัง และมีสุขภาพที่ดีเช่นกัน

แหล่งอ้างอิง
- Henderson, C 2008, Horse Tack Bible: Material World, pp.40,  KHL Printing Co. Pte Ltd, Singapore
- Horse Bit Materials: Metal, Rubber and Plastic Materials Used to Make Horse Bits, by Katherine Blocksdorf, http://horses.about.com/od/bitsexplained/tp/horse_bit_materials.htm
- Mcbane S. 2002, The Essential Book of Horse Tack & Epuipment, pp.103, Dai Nippon, Devon, UK 


บทความ ความรู้ ม้า

เหล็กหวาน (Sweet Iron) คืออะไร

เหล็กปากม้า4

เหล็กหวานคือเหล็กที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบสูง ผ่านกระบวนการพิเศษที่เรียกว่า Cold Rolling และ Work Hardening ทำให้มีคุณสมบัติต่างไปจากเหล็กปกติ คือมีความแข็งสูงในขณะที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้างเหมือนสเตนเลสหรือเหล็กทั่วไปเมื่ออยู่ในปากของม้า 
เหล็กหวาน ได้ถูกออกแบบมาให้ทำปฏิกิริยากับอากาศและน้ำลายของม้าอย่างรวดเร็วเกิดเป็นสนิมที่มีสีคล้าย จันทร์เทศ (Nutmeg-Coloured) และสนิมที่เกิดขึ้นนี้ ี้จะมีคุณสมบัติพิเศษต่างจากสนิมของเหล็กทั่วไป คือจะมีรสชาติหวาน ช่วยกระตุ้นให้ม้าหลั่งน้ำลายและลดการเสียดสีของผนังด้านในปากของม้ากับเหล็กปาก ปลอดภัยเมื่อใส่ไว้ในปากม้าหรือเมื่อถูกกลืนเข้าไปในร่างกาย  ดังนั้นเหล็กปากในส่วนที่อยู่ด้านในของปากม้า (Mouthpiece) จึงนิยมผลิตจากเหล็กหวาน เนื่องจากช่วยให้ม้ายอมรับเหล็กปากและเชื่อฟังคำสั่งได้ดี


แหล่งอ้างอิง
- Henderson, C. 2008, Horse Tack Bible: Material World, pp.40,  KHL Printing, Singapore
- Hill, C. 2006, Sweet Iron Bits, www.horsekeeping.com . Accessed August 16, 2011
 
- Mcbane S. 2002, The Essential Book of Horse Tack & Epuipment, pp.103, Dai Nippon, Devon, UK 


บทความ ความรู้ ม้า

การดูแลและทำความสะอาดเหล็กปากม้า

การดูแลรักษาเหล็กปากม้าที่ดี ช่วยให้เหล็กปากคงทนสวยงามและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหล็กปากควรได้รับการทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน (อย่างน้อยที่สุดควรล้างน้ำสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้งก่อนเก็บ) วิธีการทำความสะอาดเหล็กปากที่ถูกต้องมีหลายวิธี ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมและลำดับขั้นตอนอย่างง่ายๆไว้ดังนี้

การทำความสะอาดเหล็กปากม้า ที่ทำจาก สเตนเลสและทองแดง
1 ถอดเหล็กปากออกจากบังเหียน
2 ต้มน้ำให้เดือด จุ่มเหล็กปากลงไป ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จะช่วยกำจัดคราบสกปรกและเชื้อโรค (ถ้าหากผู้ใช้ทำความสะอาดเหล็กปากโดยล้างน้ำเป็นประจำทุกครั้งหลังใช้งานอยู่แล้ว ขั้นตอนนี้สามารถข้ามไปได้)
3 นำเหล็กปากออกจากน้ำร้อน รอจนหายร้อน ใช้แปรงสีฟันที่ไม่ใช้แล้วใส่ยาสีฟันหรือน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานถูและขัดโดยเฉพาะบริเวณข้อต่อและซอกต่างๆของเหล็กปากซึ่งมักเป็นที่สะสมของสิ่งสกปรก
4 เหล็กปากในส่วนที่ทำจากทองแดง เมื่อใช้ไปสักพักสีอาจจะหม่น ให้ใช้เกลือ1ช้อนโต๊ะผสมเข้ากับน้ำส้มสายชู1ถ้วยและแป้งข้าวหรือแป้งหมี่พอกไว้อย่างน้อย 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่นและใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง ทองแดงก็จะกลับมาเงางามเหมือนใหม่อีกครั้ง

5 หากต้องการให้เหล็กปากเงางาม สามารถใช้น้ำยาขัดเงาได้ แต่ต้องเป็นน้ำยาทำผลิตสำหรับเหล็กปากม้าเท่านั้น ห้ามใช้น้ำยา
ขัดเงาทั่วไป เพราะม้าอาจจะเป็นอันตรายได้เมื่อกลืนกลิ่นเข้าไปในร่างกาย


วิธีการดูแลและทำความสะอาดเหล็กหวาน
เหล็กหวานถูกออกแบบมาให้เกิดสนิมอย่างรวดเร็วและสนิมนั้นช่วยให้ม้ายอมรับเหล็กปากได้ดี  ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดทุกครั้งที่ใช้งาน แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอเมื่อถึงเวลาอันสมควร กล่าวคือ เมื่อม้ามีพฤติกรรมที่พยายามจะกินโดยกัดหรือแทะเหล็กปากก็ควรทำความสะอาดเอาสนิมเก่าออก
เพื่อให้เหล็กหวานสามารถสร้างสนิมใหม่ขึ้นมาแทน การทำความสะอาดอย่างง่ายๆ ทำได้โดยการใช้น้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูหรือน้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ทาลงบนบริเวณที่มีสนิม
จะทำให้สนิมหลุดออกได้โดยง่าย จากนั้นใช้ผ้าสะอาดเช็ดเอาสนิมออก  และล้างออกด้วยน้ำสะอาด เช็ดด้วยผ้าสะอาดให้แห้งอีกครั้ง เท่านี้สนิมเก่าที่เคยเกาะอยู่ก็จะหลุดออก ได้เหล็กหวานที่พร้อมจะผลิตรสหวานใหม่ให้ม้าได
หมายเหตุ: 
- หากปล่อยให้สนิมสะสมเกาะติดแน่นเป็นเวลานาน อาจจำเป็นต้องให้ใช้ ผ้าฝอยเหล็กอย่างนุ่ม (Steel Wool) ขัดให้สนิมเหล่านั้นหลุดออกไปก่อน
แล้วจึงล้างน้ำและเช็ดให้แห้ง
- หลีกเลี่ยงการใช้สก็อตไบรท์หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เหล็กปากเป็นรอย
- อย่าใช้น้ำยากำจัดสนิม เนื่องจากอาจมีสารเคมีตกค้างซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อม้าได้


เหล็กปาก อุปกรณ์ขี่ม้า บทความม้าผ้าฝอยเหล็ก (Steel wool)


แหล่งอ้างอิง


Henderson, C 2008, Horse Tack Bible: Material World, pp.40,  KHL Printing, Singapore
Hill, C. 2006, Sweet Iron Bits, www.horsekeeping.com . Accessed August 16, 2011
Mcbane S. 2002, The Essential Book of Horse Tack & Epuipment, pp.175, Dai Nippon, Devon, UK 
http://www.horsegroomingsupplies.com/horse-forums/how-to-clean-a-bit-274546.html
http://www.ehow.com/how_2085959_clean-horse-bit.html
http://answers.yahoo.com/question/index?qid=20080219024500AA6UeoW
http://uk.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080826101747AAOe2UC



2 การทำความสะอาดม้าและอาบน้ำม้า

การทำความสะอาดและอาบน้ำม้า

การทำความสะอาดม้า (Horse Grooming) และการอาบน้ำม้า (Horse Bathing) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้ 
การทำความสะอาดม้าหลังจากที่ม้าออกกำลังกายทุกครั้ง และ การอาบน้ำม้าเป็นครั้งคราวมีประโยชน์และสำคัญดังนี้

-เป็นการตรวจสอบสุขภาพของม้า เช่นแผล, อาการบวม, อาการบาดเจ็บ,
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอารมณ์ (เช่นภาวะซึมเศร้า) ซึ่งสามารถบ่งชี้ม้าที่มีอาการป่วยได้ 
-ลดโอกาสของการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น โรคผิวหนังและการติดเชื้อต่างๆ
-ช่วยลดความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของอุปกรณ์ขี่ม้ากับผิวหนังม้า
-ช่วยส่งเสริมให้ม้ามีสุขภาพผิวหนังและขนที่ดี
-ช่วยให้ม้าผ่อนคลาย และมีสุขภาพจิตที่ดี
-ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ขี่กับม้า

อุปกรณ์ทำความสะอาดม้า

เมื่อเรารู้ถึงจุดประสงค์และความจำเป็นในการทำความสะอาดและดูแลรักษาร่างกายม้าแล้ว อุปกรณ์ในการทำความสะอาดพื้นฐานที่เราควรจะต้องมีสำหรับม้าแต่ละตัว (ไม่ควรใช้อุปกรณ์ร่วมกันสำหรับม้าหลายตัว เพราะโรคผิวหนังของม้าสามารถติดต่อกันได้) มีดังต่อไปนี้

1. หวี, แปรงเคอรี่ (Curry Comb)

เป็นอุปกรณ์อย่างแรกที่ใช้ในการทำความสะอาดม้า ใช้ในการเอาสิ่งสกปรกใหญ่ๆ เช่น โคลน เศษหิน ดิน ทรายต่างๆ ออก
โดยการถูหรือนวดเป็นทิศทางรูปวงกลมเบาๆเพื่อให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นที่แกะตัวอยู่บนขนหรือผิวหนังของม้าแตกตัวและ
หลุดออกได้ง่ายขึ้น  อีกทั้งยังเป็นการนวด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียน โลหิตและกระตุ้นต่อมใต้ผิวหนังม้าให้สร้าง น้ำมันธรรมชาติด้วย
หวีเคอรี่สามารถแบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ได้แก่

1.1 หวีเคอรี่ยางแข็ง, แปรงยางแข็ง (Rubber curry comb)

มักจะเป็นวัสดุยางที่มีสีดำ มีซี่ฟันเรียงตัวอยู่ด้านนึง อีกด้านเป็นที่จับ
แปรงยางแข็งประเภทนี้  นิยมใช้บริเวณลำตัวเม้าเท่านั้น ไม่ควรใช้กับ
บริเวณส่วนของหน้าแข้งและหัวของม้าที่มีความบอบบางสูง

กราดยาง อุปกรณ์ม้า

1.2 หวีเคอรี่ยางนิ่ม, แปรงยางนิ่ม (Jelly curry comb)
มักจะเป็นวัสดุยางใสมีสีต่างๆกันไป แปรงยางนิ่มนี้
มีความยืดหยุ่นและอ่อนโยนในการทำความสะอาดม้า
มากกว่าแบบยางแข็ง  มีทั้งรูปแบบที่ใช้มือสวมด้านหนึ่ง
(รูป 2) และแบบที่เป็นถุงมือ ( รูป 3) ซึ่งมีด้านที่เป็นปุ่มหยาบสำหรับ
การทำความสะอาดบรเวณตัวและปุ่มละเอียดซึ่งมีความอ่อนโยน
พอสำหรับใช้ทำความสะอาดบริเวณหน้าแข้งและหัวของม้าได้

กราดยางนิ่ม อุปกรณ์ทำความสะอาดม้า แปรงยางนิ่ม

(รูป 2) (รูป 3)

1.3 หวีเคอรี่พลาสติก, แปรงพลาสติก (Plastic curry comb) มีความยืดหยุ่น และความนุ่มนวลในการทำความสะอาดน้อยกว่าแบบยาง
มีน้ำหนักเบาและมีราคาถูกกว่าหวีเคอรี่ประเภทอื่นๆ

แปรงพลาสติก อุปกรณ์ทำความสะอาดม้า

1.4 หวีเคอรี่โลหะ, แปรงโลหะ (Metal curry comb or Fitch curry comb)
แปรงโลหะนี้มักจะทำจากสแตนเลส หรือเหล็กรมควัน สามารถทำความสะอาดสิ่งสกปรกใหญ่ๆ เช่น โคลนหรืออื่นๆ ได้ดี
แต่จะต้องมีความระมัดระวังในการใช้สูง ไม่ควรใช้สัมผัสกับผิวหนังของม้าโดยตรงเพราะซี่ฟันโลหะมีความคม อาจจะทำให้ม้าเจ็บและเป็นแผลได้  หวีโลหะยังนิยมนำมาประยุคใช้ในการทำความสะอาดแปรงขนม้าที่มีขนม้าติดอยู่ โดยการนำแปรงขนม้าที่มีขนม้าติดอยู่มาขัดกับแปรงโลหะนี้ในลักษณะแนวขวางเพื่อให้ขนม้าที่ติดแปรงหลุดออก

กราดเหล็ก อุปกรณ์ทำความสะอาดม้า หวีสปริง 4 ห่วง

2. แปรงแดนดี้หรือแปรงขนแข็ง (Dandy brush or Hard-bristled brush)

หลังจากที่ใช้หวีเคอรี่กำจัดสิ่งสกปรกใหญ่ๆ และตีให้สิ่งเหล่านั้นแตกตัวแล้ว
ลำดับต่อมาก็คือการใช้แปรงขนแข็งขจัดสิ่งสกปรกเหล่านั้นที่ยังเหลืออยู่ โดยแปรงในทิศทางที่ขนม้างอกหรือแปรงจากด้านหัวของม้า
ไปทางหางม้าในลักษณะสั้นๆ แล้วสะบัดเอาสิ่งสกปรกนั้นๆออกจากตัวม้า (ไม่ควรแปรงทวนขนม้าเพราะจะทำให้ม้าเจ็บและขนดีอาจหลุดล่วงได้)
นอกจากแปรงขนแข็งจะช่วยในการขจัดสิ่งสกปรกแล้ว ยังช่วยกำจัดขนม้าที่ตาย แล้วให้หลุดออก  เพิ่อให้ม้าสร้างขนใหม่ที่แข็งแรงมาทดแทนด้วย
ขนแปรงแข็งนี้ทำมาจากวัสดุได้หลายประเภท วัสดุที่ดีที่สุดคือ ลำต้นข้าว แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้แบบขนแปรงที่ทำมาจากพลาสติกสังเคราะห์มากกว่า
เพราะราคาไม่แพงและหาได้ง่าย

แปรงแดนดี้ แปรงขนแข็ง แปรงขนแข็ง

นอกจากนี้บางผู้ใช้ยังสามารถนำแปรงขนแข็ง (แดนดี้) ใช้ในการแต่งขนม้าให้เป็นลวดลายต่างๆ ได้อีกด้วย   (Quarter  Marks) ซึ่งเป็นการหวีหรือแปรงขนม้าในทิศทางที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดรูปร่างหรือลวดลายต่างๆ

Quarter marks

3. แปรงลำตัวหรือแปรงขนอ่อน (Body Brush or Soft Brush)
แปรงขนอ่อนใช้แปรงเพื่อขจัดสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองเล็กๆ ที่เหลืออยู่ หลังจากใช้แปรงขนแข็งทำความสะอาดสิ่งสปรกขนาดใหญ่แล้ว
การใช้แปรงขนอ่อน จะช่วยเพิ่มความเงางามให้กับขนม้าและเป็นการผ่อนคลาย
ให้กับตัวม้าเองด้วย ขนของแปรงชนิดนี้ มีความอ่อนนุ่มแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัสดุ
ที่ใช้ทำ ขนแปรงอ่อนนิยมทำมาจากเส้นใยสังเคราะห์, ขนแพะ, ขนหมูป่า, และขนม้า
ซึ่งขนแปรงที่ทำจากขนม้าจะมีความนุ่มมากที่สุด และเหมาะสำหรับใช้เป็นแปรงทำ
ความสะอาดบริเวณหน้าของม้าซึ่งต้องการความอ่อนนุ่มสูง  อย่างไรก็ตาม ต้องหลีกเลี่ยง
การแปรงบริเวณรอบดวงตาด้วย

แปรงขนอ่อน แปรงลำตัว แปรงม้าขนอ่อน

4. ผ้าทำความสะอาดหรือผ้าขนหนู (Grooming rag or Towel)

นับว่าเป็นเครื่องมือขจัดสิ่งสกปรกชิ้นสุดท้ายและยังนิยมใช้สำหรับเช็ดเหงื่อหลังจากการขี่หรือจากกิจกรรมที่ทำให้เกิด
เหงื่อได้อีกด้วย วัสดุที่นำมาทำผ้ามีทั้งผ้าลินิน  ผ้าเทอรี่ (Terrycloth Towel) เป็นผ้าที่ทอหรือถักให้เป็นห่วงหรือเป็นวงเพื่อให้ซับน้ำได้มากกว่าผ้าอื่นๆทั่วไป
ถุงมือผ้าเทอรี่ ผ้าขนหนูม้า อุปกรณ์ทำความสะอาดม้า

5. หวีขนแผงคอและหางม้า (Mane brush or comb)

ขนแผงคอม้าหรือหางม้าที่มีลักษณะขนสั้น ควรเลือกใช้หวีที่ทำจากวัสดุพวกพลาสติกหรือโลหะที่มีซี่ฟันกว้าง
แต่ถ้าขนแผงคอม้าหรือขนหางม้ายาวนิยมใช้หวีควบคู่กับแปรงแดนดี้หรือแปรงขนแข็ง
ส่วนม้าที่ขนสวยใช้ในการโชว์หรือประกวดจะหลีกเลี่ยงการจับขนด้วยมือเพราะอาจทำให้ขนขาดหรือหลุดล่วงได้
แปรงหรือหวีที่มีซี่ฟันสั้นและถี่มักใช้ในการหวีเพื่อการถักเปียม้า

หวีแผงคอม้า หวีแผงคอม้า หวีหางม้า

6. อุปกรณ์แคะกีบม้า (Hoof pick)
กีบของม้าเป็นบริเวณที่ม้าต้องใช้สัมผัสกับหญ้า พื้นดิน ทราย น้ำและอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นบริเวณนี้จึงสกปรกง่ายและต้องการการทำความสะอาดบ่อยๆ ในปัจจุบันได้มีการออกแบบอุปกรณ์แคะกีบม้าให้มีทั้งส่วนที่เป็นโลหะปลายแหลม ใช้ในการแคะกีบและแปรงขนแข็งอยู่ในด้ามเดียวกันเพื่อเหมาะกับการทำความสะอาดคราบโคลนและสิ่งสกปรกต่างๆ

ที่แคะกีบม้า ที่แคะกีบม้า

7. กราดเหงื่อหรือกราดน้ำ (Sweat scraper)

ใช้ในการปาดเหงื่อที่เกิดจากการใช้งานม้าหรือใช้รีดน้ำหลังจากการอาบน้ำเพื่อทำให้ตัวม้าแห้งเร็วขึ้น  อุปกรณ์มีลักษณะคล้ายกับที่รีดน้ำบนกระจก แต่ต่างกันตรงที่มีลักษณะเป็นแนวโค้ง วัสดุที่นำมาใช้ก็จะเป็นยาง พลาสติกหรือโลหะส่วนบางรุ่นมีการออกแบบให้เป็นหวีด้านหนึ่งและกราดน้ำอีกด้านหนึ่งไว้ภาย
ในอันเดียวกันเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน

กราดยาง กราดน้ำ

8. ฟองน้ำ (Sponge)

ฟองน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอาบน้ำม้า หรือ ทำความสะอาดเฉพาะจุดโดยการชุบน้ำพอหมาด เช็ดในบริเวณที่ต้องการ โดยใช้ฟองน้ำขนาดเล็ก 1 ชิ้น ในการทำความสะอาดตา จมูก ริมฝีปาก และ อีก 1 ชิ้นสำหรับใต้ท้องและบริเวณรอบอวัยวะสืบพันธุ์ (เราควรแยกใช้ฟองน้ำในส่วนนี้กับบริเวณใบหน้าของม้า ) ส่วนบริเวณลำตัวและขาม้า ให้ใช้ ฟองน้ำขนาดใหญ่ 1 ชิ้น

ฟองน้ำอาบน้ำม้า อุปกรณ์ทำความสะอาดม้า

9. แปรงทาน้ำมันบำรุงกีบม้า (Hoof oil)
กีบม้าเป็นส่วนที่สำคัญที่ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ การไม่ได้รับความใส่ใจที่ดีพอ อาจทำให้กีบม้า แห้งและแตกออกเกิดเป็นโพรงและติดเชื้อได้ จึงควรมีการบำรุงกีบด้วยการใช้แปรงทากีบม้าจุ่มน้ำมันและทาบำรุงกีบม้าหลังจากทำความสะอาดกีบอย่างสม่ำเสมอโดยทาเป็นแนวขว้างหรือแนวขนานกับพื้นจากด้านบนลงด้านล่าง

แปรงทาน้ำมันกีบม้า

 

ขั้นตอนการทำความสะอาดม้า
การทำความสะอาดแบบแห้งนี้ สามารถทำได้ทุกวันหรือเมื่อต้องการได้ดังนี้
1. ใช้หวีเคอรี่หรือแปรงยาง (Curry Comb) นวดเป็นรูปวงกลมให้โคลนหรือสิ่งสกปรกขนาดใหญ่แตกและหลุดออกได้ง่าย
2. ใช้แปรงขนแข็ง (Dandy Brush) ปัดให้สิ่งสกปรกขนาดใหญ่ที่หลงเหลืออยู่นั้นออกไป
3. ใช้แปรงขนอ่อน (Body Brush) แปรงขนขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกขนาดเล็กและแปรงขนเงางาม
4. ใช้หวีแผงคอและหาง
5. ใช้อุปกรณ์แคะกีบและแปรงกีบ
6. ใช้ผ้าขนหนู ปัด




การอาบน้ำม้า

ม้าทั่วไปไม่จำเป็นต้องได้รับการอาบน้ำทุกวันหรือบ่อยครั้งเท่ากับการทำความสะอาดแห้งด้วยแปรงและอุปกรณ์ทำ ความสะอาดม้าต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้น
แต่การอาบน้ำม้าจะนิยมทำหลังจากที่ม้าออกกำลังกายหรือถูกใช้งานในกิจกรรมหนักๆซึ่งทำให้มีเหงื่อออกมากหรือเปรอะเปื่อนกับสิ่งสกปรกจากการทำกิจกรรมนั้นๆ  ซึ่งการอาบน้ำนอกจากทำให้ม้าสะอาดแล้วยังช่วยคลายความร้อนและผ่อนคลายให้ม้าหลังจากการออกกำลังกายอีกด้วย

วิธีการอาบน้ำม้ามีขั้นตอนดังนี้

1. ก่อนอาบน้ำจะควรทำความสะอาดแห้งม้าก่อน ตามขั้นตอนข้างต้นที่ได้กล่าวไปแล้ว
2. ผสมแชมพูม้ากับน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นเล็กน้อย ตีให้เกิดฟอง  (ควรใช้แชมพูสำหรับม้าโดยเฉพาะหรือแชมพูมีความระคายเคืองต่ำ)
3. ใช้ฟองน้ำจุ่มน้ำที่ผสมแชมพูนั้น แล้วถูลงบนลำตัวของม้า โดยเริ่มจากขาม้าก่อนแล้วค่อยๆสูงขึ้น (ยกเว้นบริเวณหัว)
4. อาจใช้อุปกรณ์อื่นๆ ในการนวดและแปรงเพื่อช่วยขจัดสิ่งสกปรกบนตัวม้าออก เช่น แปรงยาง, ถุงมือยาง, แปรงพลาสติก เป็นต้น
5. ล้างแชมพูออกด้วยน้ำสะอาด (อาจใช้ฟองน้ำช่วยด้วย)
6. ใช้หวีแผงคอและหางม้าทำความสะอาด (หากขนพันกัน และหวีติด ให้ใช้มือสรางออกก่อน จึงทำการหวีต่อ)
7. ใช้ฟองน้ำสำหรับหน้าของม้า  จุ่มน้ำสะอาดพอหมาดเช็ดบริเวณหน้าของม้าอย่างนุ่มนวล (ห้ามใช้แชมพู)
8. ใช้กราดน้ำหรือผ้าขนหนูเช็ดให้ม้าแห้ง
9. ใช้แปรงทากีบม้าหรือแปรงอื่นๆ ทาน้ำมันบำรุงกีบม้า
10. พาเดินออกกลางแจ้งรับแดดประมาณ 10 นาที




 

บทความ ความรู้ ม้า

พีพี แซดเดิลรีย์ จำหน่าย อุปกรณ์ขี่ม้า เครื่องม้า และ อาหารม้า คุณภาพดี ราคาถูก
034-351831, 093-7741006, 034-352614